ประวัติความเป็นมาจังหวัดอุตรดิตถ์
อุตรดิตถ์มีความหมายว่าเมืองท่าแห่งทิศเหนือและก่อนจะมาเป็นเมืองท่าสำคัญแต่เดิมอุตรดิตถ์เคย เป็นเมืองในปกครองของ เมืองพิชัยอันเป็นเมืองเก่าแก่ปรากฏชุมชนอาศัยมาตั้งแต่สมัยโบราณ
สมัยก่อนประวัติศาสตร์
สมัยโบราณก่อน พ.ศ. 1000 ยังไม่มีตัวอักษรใช้กัน แต่อุตรดิตถ์มีคนอาศัยอยู่แล้วเพราะหลักฐานจากการ ค้นพบภาพเขียนสีโบราณบนหน้าผาเขาตาพรหม หลังที่ว่าการอำเภอทองแสนขันและกลองมโหระทึกทำด้วยทองสัมฤทธิ์ ที่ตำบลท่าเสาอำเภอเมือง อุตรดิตถ์ เมื่อปี พ.ศ. 2470 ทำให้ เราทราบว่าอุตรดิตถ์เป็นดินแดนที่มีผู้คนเข้ามาอาศัยอยู่ก่อน พ.ศ. 1000 แล้ว เพราะโบราณวัตถุที่ค้นพบดังกล่าวเป็นโลหะ ที่มีใช้กันอยู่ในยุคสัมฤทธิ์หรือยุคโลหะตอนต้นอันเป็นยุคก่อน ประวัติศาสตร์นั่นเอง
สมัยสุโขทัย
ในสมัยสุโขทัยท้องที่ของจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้มี การตั้งเมืองขึ้นหลายเมือง เช่น เมืองฝางหรือเมืองสวางคบุรีเป็นเมืองที่มีชื่อปรากฏในศิลาจารึกของกรุงสุโขทัย เมื่อคราวที่พระมหาธรรมราชาลิไทแห่งกรุงสุโขทัยได้ทรงสร้างพระมหาธาตุที่นครชุม ตอนท้ายของศิลาจารึกได้กล่าวถึง เมืองฝางซึ่งเป็นเมืองหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย และยังเป็นเมืองต่อมาจนถึงสมัยอยุธยาปัจจุบันเมืองฝางอยู่ในท้องที่อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จากการพบตัวเมืองและสถูปมีลักษณะเดียวกับเมืองโบราณสมัยสุโขทัย นอกจากนี้ในกฎหมาย ลักษณะลักพา ครั้งรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 แห่ง กรุงศรีอยุธยา มีชื่อเมืองทุ่งยั้งอยู่ในทำเนียบด้วย ปัจจุบัน อยู่ในท้องที่อำเภอลับแล เมืองโบราณอีกเมืองหนึ่ง คือ เมืองตาชูชก มีแม่น้ำ น่านเป็นคูเมืองธรรมชาติ มีคำบรรยายลักษณะเมืองในศิลา จารึกสุโขทัย ปัจจุบันอยู่ในท้องที่อำเภอตรอน
สมัยกรุงศรีอยุธยา
ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทองสร้างกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 1893 ปรากฏ เมืองขึ้นถึง 16 เมือง ในจำนวนนี้ มีเมืองพิชัยซึ่งอยู่ในท้องที่อุตรดิตถ์ ในปัจจุบันรวมอยู่ด้วย สมัยสมเด็จ พระนเรศวรมหาราชเมื่อทรงยกทัพขึ้น ไปขับไล่ทหารพม่าทางหัวเมืองเหนือ พระยาสวรรคโลกและพระยาพิชัย แข็งเมืองไม่ยอมเกณฑ์กำลังไปช่วย สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงจับตัว เจ้าเมืองทั้งสองประหารชีวิต และกวาด ต้อนผู้คนพลเมืองมายังเมืองพิษณุโลกจนสิ้น
สมัยกรุงธนบุรี
เมื่อปีพ.ศ. 2315 สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี โปสุพลา แม่ทัพพม่า เมื่อเดินทัพผ่านเข้ามาใกล้ชายแดนไทยก็แบ่ง กองทัพเข้ามาตีเอาเมืองลับแล และยกทัพเลยเข้ามาตีเมือง พิชัย ขณะนั้นไพร่พลเมืองพิชัยยังมีน้อย พระยาพิชัยจึงรักษา เมืองไว้ และขอกำลังเมืองพิษณุโลกขึ้นไปช่วย เจ้าพระยา สุรสีห์ก็รีบเกณฑ์กองทัพขึ้นไปยังเมืองพิชัยตีค่ายพม่า พระยาพิชัยยกออกมาตีกระหนาบอีกด้าน กองทัพพม่า ต้านทานไม่ไหวก็แตกหนีไปต่อมา พ.ศ. 2316 โปสุพลาแม่ทัพพม่ายกทัพตีเมือง พิชัยอีก แต่ฝ่ายไทยรู้ตัวก่อน เจ้าพระยาสุรสีห์กับพระยาพิชัย ชวนกันยกกองทัพซุ่มสกัดทัพพม่า เมื่อกองทัพ พม่ายกมาถึงเจ้าพระยาสุรสีห์กับพระยาพิชัยออก ระดมตีได้รบกันเป็นสามารถ ฝ่ายไทยได้ที่ชัยภูมิ ได้เปรียบพม่าตีทัพโปสุพลาแตกกลับไป การรบ ครั้งนี้เมื่อเข้าระจัญบาน พระยาพิชัยถือดาบ สองมือเข้าไล่ฟันพม่าจนดาบหัก เลื่องลือชื่อ เสียงถึงเรียกชื่อกันว่า "พระยาพิชัยดาบหัก แต่นั่นมา สมัยรัตนโกสินทร์
ช่วงรัชกาลที่ 3 เมืองพิชัย ได้กลายเป็นหัวเมือง สำคัญ ได้เมืองขึ้นแผ่ขยายเขตแดนออกไปถึงเมืองเวียงจันทร์ จดแม่น้ำโขง ต้องตรวจตรารักษาการเมืองแพร่และเมืองน่าน ตลอดจนเมืองหลวงพระบางอันเป็นเมืองหน้าด่าน ขณะเดียวกัน กับตำบลบางโพท่าอิฐซึ่งอยู่ติดแม่น้ำน่าน อันเป็นแม่น้ำสำคัญสายเดียวที่ใช้ติดต่อค้าขายขึ้นมาได้สะดวกถึงเมืองเหนือด้วย เหนือขึ้นไปสายน้ำตื้นเขินมากมายไปด้วยเกาะแก่ง จึงเป็นที่รวมสินค้าจากเมืองหลวงพระบางเมืองแพร่ เมืองน่าน ตลอดจนแคว้นสิบสองปันนาก็นำสินค้าพื้นเมืองเดินบกลงมา จำหน่ายแล้วส่งต่อล่องใต้ไปจนถึงกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ.2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่า ที่ตำบลบางโพท่าอิฐคงจะเจริญต่อไปในภายหน้า ด้วยเป็นทำเลการค้าอย่างดีริมแม่น้ำน่าน ราษฎรก็อพยพเข้ามาอาศัยอยู่มากขึ้นทุกปี จึงโปรดให้ตั้งเป็นเมืองอุตรดิตถ์ อันหมายถึง เมืองท่าแห่งทิศเหนือและโปรดให้อุตรดิตถ์เป็นเมืองขึ้นของเมืองพิชัย ต่อมาในปี พ.ศ.2442 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้ย้ายศาลากลางเมืองพิชัย ไปตั้งบังคับบัญชาที่เมืองอุตรดิตถ์ เวลานั้นอุตรดิตถ์ได้กลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่กว่าเมืองพิชัยเสียอีก ปี พ.ศ.2458 จึงโปรดให้เปลี่ยนนามเมืองพิชัยเป็นเมืองอุตรดิตถ์เป็นต้นมา จนปัจจุบัน จังหวัดอุตรดิตถ์แบ่งพื้นที่เพื่อการบริหารราชการ ส่วนภูมิภาคเป็น 9 อำเภอ67 ตำบล 613 หมู่บ้าน ดังนี้
อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ (Mueang Uttaradit)
อำเภอตรอน (Tron) อำเภอท่าปลา (Tha Pla) อำเภอน้ำปาด (Nam Pat) อำเภอฟากท่า (Fak Tha) อำเภอบ้านโคก (Ban Khok) อำเภอพิชัย (Phichai) อำเภอลับแล (Laplae) อำเภอทองแสนขัน (Thong Saen Khan) จังหวัดอุตรดิตถ์แบ่งพื้นที่เพื่อการบริหารราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 ประเภท ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง
เทศบาลเมือง 1 แห่ง เทศบาลตำบล 16 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล 62 แห่ง จังหวัดอุตรดิตถ์ แบ่งเขตการเลือกตั้งออกเป็น 1 เขต และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 คน และสมาชิกวุฒิสภา 3 คน
ที่ตั้งและอาณาเขต The Location and Boundary อุตรดิตถ์เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือตอนล่างในแดนล้านนาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ โดยทางรถยนต์ 491 กิโลเมตร และโดยทางรถไฟ 485 กิโลเมตร มีเนื้อที่กว้างประมาณ 7,838.592 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,899,120 ไร่
มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับ จังหวัดแพร่และจังหวัดน่าน
ทิศใต้ ติดกับ จังหวัดพิษณุโลก ทิศตะวันออก ติดกับ จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดเลยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวโดยเขตชายแดนยาวประมาณ 135 กิโลเมตร ทิศตะวันตก ติดกับ จังหวัดสุโขทัย คำขวัญจังหวัดอุตรดิตถ์
"เหล็กน้ำพี้ลือเลื่อง เมืองลางสาดหวาน บ้านพระยาพิชัยดาบหัก ถิ่นสักใหญ่ของโลก"
ในสมัยที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี มีนโยบาย พัฒนาการท่องเที่ยวทั่วประเทศให้เป็นรูปธรรม อันก่อให้เกิดรายได้เข้าประเทศ เป็นสำคัญ จึงกำหนดให้ทุกจังหวัดมีคำขวัญที่บ่งบอกถึงสิ่งที่สำคัญของ จังหวัด โดยเน้นเรื่อง ธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม ศิลปกรรม และสถาปัตยกรรม เป็นต้น หลายจังหวัดจัดให้มีการส่งคำขวัญเข้าประกวด เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์กันอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์สมัยนั้นได้นำนโยบายนี้เข้าหารือ ในที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการ และดำริให้มีการประกวดคำขวัญด้วยเช่นกัน ตลอดจนได้สังเคราะห์แนวคิดในที่ประชุมเป็นกรณีตัวอย่าง สื่อมวลชนได้นำ ไปใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์จังหวัดเป็นเบื้องต้นรวมถึง องค์กรต่าง ๆ ก็ใช้กัน อย่างกว้างขวางจนติดปากบุคคลทั่วไป มีดำริในที่ประชุมจังหวัด ที่จะให้ วิทยาลัยครูอุตรดิตถ์ (สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์) เป็นผู้ดำเนินการกำหนด กรอบแนวคิดและเงื่อนไข การประกวด รวมทั้งงบประมาณเพื่อมอบเป็นรางวัล แต่ก็ยังไม่พร้อม ในสมัยนั้น จึงใช้คำขวัญดังกล่าวสืบทอดต่อกันมาจนเป็น คำขวัญ
ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์
ก่อนหน้านี้ในสมัย ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อราว พ.ศ. 2483 ดำริให้มีการออกแบบทำตราประจำจังหวัดต่างๆ ขึ้น เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์และนำเสนอปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุที่สำคัญ ๆ ของแต่ละจังหวัดให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้น ดังนั้น จึงได้นำรูปพระแท่นศิลาอาสน์ ซึ่งเป็นโบราณสถานคู่บ้านคู่เมืองของอุตรดิตถ์ มาผูกติดลวดลายเป็นตรา ประจำจังหวัด ตราประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ ออกแบบครั้งแรกโดยพระพรหมพิจิตรเขียนลายเส้นโดย นายอุณห์ เศวตมาลย์ โดยทำเป็นรูปมณฑปประดิษฐาน พระแท่นศิลาอาสน์ ต่อมาทางราชการให้เพิ่มเติมรายละเอียดโดยทำรูปครุฑ ซึ่งเป็นตราแผ่นดิน และลวดลายกนกมาประกอบไว้ พร้อมทั้งเพิ่มตัวอักษรอุตรดิตถ์เข้าไว้ในตราด้วย
ธงประจำจังหวัดอุตรดิตถ์
มีลักษณะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 120 เซนติเมตร ยาว 180 เซนติเมตร มีพื้นสีแสดคาดแถบสีม่วงแก่ขนาด 70 เซนติเมตร 2 ริ้วตัดผ่าน กลางผืนธงเป็นรูปกากบาทและตรงกลางผืนธงจะมีเครื่องหมายดวงตรา ประจำจังหวัดมีสัญลักษณ์เป็นพระแท่นศิลาอาสน์มีมณฑปสีเหลืองครอบอยู่สองข้างของมณฑปเป็น ลวดลายกนกสีน้ำเงินเข้มด้านหน้ามณฑปมีรูปครุฑ สีแดง ทั้งหมดบรรจุในกรองวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 70 เซนติเมตร ด้านล่างมีตัวหนังสือชื่อจังหวัดเส้นรอบขอบวง
ดอกไม้ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์
ดอกประดู่
ดอกไม้ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ในราวปี พ.ศ.2504 รัฐบาลเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรกได้มีโครงการ พัฒนาท้องถิ่น หลายรูปแบบส่วนใหญ่เน้นเรื่องเศรษฐกิจในชุมชนเป็นหลักเพื่อเป็นแบบอย่างในการพัฒนาส่วนหนึ่งจังหวัดจึงมีนโยบายให้หน่วยงานราชการ ทุกแห่ง ปลูกไม้ประดับและไม้ยืนต้นในพื้นที่ของส่วนราชการทุกแห่งและเสนอแนะให้ปลูกพันธุ์ไม้ชื่อกัลปพฤกษ์ และพันธุ์ไม้ประดู่ ด้วยเหตุผล 2 ประการคือประเภท ดอกสวยงาม และมีความแข็งแรงทนทานต่อดินฟ้าอากาศ ต้นกัลปพฤกษ์เป็น ไม้เปลือกบางสู้ความแห้งแล้งไม่ได้ตายไปเกือบหมดเหลือแต่ประดู่จึงกำหนดให้เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดและดอกไม้ ประจำจังหวัดในโอกาสนั้นเนื่องจากไม้ประดู่โตช้ามาก ต่อมาจึงพยายามปลูกต้นกัลปพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ และอินทนิน ขึ้นมาใหม่อีก ซึ่งยังคงมีเหลือให้เห็นอยู่บ้างส่วนหนึ่งก็ถูกตัด ทำลายไปเพราะกิ่งก้านมีผลกระทบต่อสายไฟฟ้าและสายโทรศัพท์ ดังนั้นจึงยัง ยึดถือดอกประดู่เป็นดอกไม้ประจำจังหวัด ในแนวคิดเดิม ชื่อเรียก ประดู่บ้าน ประดู่ลาย สะโนและประดู่อินเดียลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นสูง 25 เมตรหรือมากกว่าใบประกอบ 1 ใบ มี 7-11 ใบย่อย ใบรูปไข่ หรือไข่แกมขอบขนานมีดอกมากเป็นสีเหลืองและมีกลิ่นหอม
สรรพคุณ ราก แก้ไข้ แก้ไข้พิษเซื่องซึม แก้พิษไข้ กล่อมโลหิต บำรุงโลหิตคุมธาตุ แก้เสมหะเฟื่อง แก่น บำรุงโลหิต กล่อมโลหิต แก้เสมหะเฟื่อง คุมธาตุ แก้กะษัย ใบ ทำให้ฝีสุกเร็ว พอกแผล แก้ผดผื่นคัน ยาง แก้โรคท้องเสีย แก้โรคปากเปื่อย แก้ปากแตกระแหง ต้นสัก
ต้นไม้ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ต้นที่ยังอ่อน อยู่มีขนสูงได้ถึง 50 เมตร ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามวงรีกว้าง กว้าง 650 เซนติเมตร ยาว 1195 เซนติเมตร ดอกช่อขนาดใหญ่ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบบริเวณปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นผลสด รูปค่อนข้างกลมมีขนละเอียดหนานุ่ม หุ้มมิดด้วยกลีบเลี้ยงที่ขยายตัว เป็นไม้ คุณภาพดีของประเทศและมีราคาแพงใช้ในงานก่อสร้างและงานเฟอร์นิเจอร์ได้ เป็นอย่างดี ตำรายาไทยใช้แก่นขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ แก้ไข้ เปลือกต้นเข้ายาคุมธาตุ แก่นและใบขับลมในลำไส้ รักษาเบาหวาน ปัสสาวะพิการ (อาการปัสสาวะปวดหรือกะปริดกะปรอยหรือขุ่นข้นสีเหลืองเข้ม หรือมีเลือด) และไตพิการยาพื้นบ้านใช้แก่น ผสมกับรกทองพันชั่ง หัวข้าวเย็นเหนือ หัวข้าวเย็นใต้ต้นกำแพงเจ็ดชั้น ต้นหัวร้อยรู และหญ้าชันกาดทั้งต้นต้มน้ำดื่มแก้เบาหวานพบว่าน้ำสกัดใบ ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ออกฤทธิ์เร็วและหมดฤทธิ์เร็ว
ที่พักในจังหวัดอุตรดิตถ์
โรงแรมสีหราช 163 ถนนบรมอาสน์ ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000 โทรศัพท์:0 5541 4990-4, 0 5541 4148-5 แฟกซ์: 0 5541 2172 จำนวนที่พัก: 152 ห้องราคา: 800 - 2800 บาท
โรงแรมไทธนาพาร์ตเมนท์ ที่อยู่ : 74/18 ซอย3 ถนนบรมอาสน์ ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ โทรศัพท์:0 5541 7770, 08 1887 8191 แฟกซ์: 0 5544 3034 จำนวนที่พัก: 38 ห้อง ราคา : 200 - 320 บาท โรงแรมธนากร ที่อยู่ : 13/27 ถนนอินใจมี ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง อุตรดิตถ์ 53000 โทรศัพท์:0 5541 1118-20 แฟกซ์: 0 5541 3077 จำนวนที่พัก: 50 ห้อง ราคา : 250 - 300 บาท
โรงแรมธรรมชาติแมนชั่น ที่อยู่ : 259/35 ซอย9 ถนนสำราญรื่น อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000 โทรศัพท์:0 5540 3346-7, 08 1834 6274 แฟกซ์: 0 5540 3347 จำนวนที่พัก: 43 ห้อง ราคา : 300 - 350 บาท
โรงแรม Hobby hotel ที่อยู่ : 49/10 ถนนพาดวารี ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง อุตรดิตถ์ 53000 โทรศัพท์:0 55040 282 จำนวนที่พัก: 23 ห้อง ราคา : 550 บาท
โรงแรมอารีย์แมนชั่น ที่อยู่ : 119/5 ถนนสำราญรื่น ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ โทรศัพท์:05541 4939, 0 5541 4902 แฟกซ์: 0 5541 4954 จำนวนที่พัก: 50 ห้อง ราคา : 350 - 700 บาท โรงแรมพีรภัทร ที่อยู่ : 206/2 หมู่ 11 ตำบลอินใจมี อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ 53130 โทรศัพท์:0 5544 0300 จำนวนที่พัก: 27 ห้อง ราคา : 200 - 320 บาท
|
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของคุกกี้ที่เราจัดเก็บ เหตุผลในการใช้คุกกี้ และวิธีการตั้งค่าคุกกี้ได้ใน นโยบายคุกกี้ และ คำแถลงว่าด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล